สัญญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี  

  ผลงาน

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

ตราประจำมหาวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมา

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ

สาระ

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือจารึกหลักที่ ๑ จารึกตัวอักษรด้านที่ ๑-๒ ด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้าน ๓-๔ ด้านละ ๒๗ บรรทัด มีข้อความเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง สภาพความเป็นอยู่ในสมัยสุโขทัย ทั้งในด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การปกครอง การค้าขาย เป็นต้น

สถานที่เก็บ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

 

ต้นไม้ ประจำมหาวิทยาลัย

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย 
ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542

" สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย "

 

ข้อมูลเกี่ยวกับสุพรรณิการ์ ( กรรณิการ์,ฝ้ายคำ )
วงศ์ : COCHLOSPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cochlospermum religiosum (L.) Alston
Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.(ฝ้ายคำซ้อน)
Cochlospermum gossypium De Candole
(Syn. Maxmiliana gossypium Kuntze หรือ Bombax gossypium L.)
ชื่อสามัญ : Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood

 

บทความตัวอย่าง

การใช้คำสั่ง Anchor

ขนาดตัวอักษร | ตาราง | นำไฟล์ PDF มาโชว์ |


ขนาดตัวอักษร

ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16 โดยขนาดตัวอักษร Preset มี 6 แบบ ดังนี้


Heading 1

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


Heading 2

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


Heading 3

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


Heading 4

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


Heading 5

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


Heading 6

ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16


   

ตารางที่สร้างในบทความ

ตาราง

ข้อมูล 1 ข้อมูล 2 ข้อมูล 3
ดีมาก ดีเยี่ยม ดี
ดี ดีมาก ดีมาก

   

การใช้ Module Wrapper และเรียกมาแสดงผลโดยวางโค้ด {loadmoduleid xxx}


    

ติดต่อเรา


มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย

ที่อยู่ :บ้านวังวน ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย 64210

เบอร์โทรศัพท์ : 055-945112-4  โทรสาร. 055-945112 (เบอร์ภายใน)02-3108000 ต่อ 70900,70901

อีเมล : sukhothai.ru.ac.th , This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Fanpage : www.facebook.com/rusukhothai

Wabsite :  www.sukhothai.ru.ac.th


e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ประวัติความเป็นมา

 "ประวัติความเป็นมา"

  นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้กาบริหารงาน ของศาสตราจารย์ประจำ รังสรรค์ แสงสุข ได้ดำเนินการจัดทำ “โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ส่วนภูมิภาค” ขึ้นมา โดยมุ่งหวังให้ครอบคลุมทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคสู่ฐานรากในระดับรากหญ้าของสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองเพื่อนำไปประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาหน้าที่การงานให้มีระดับสูงยิ่งขึ้น โดยมุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนให้ใกล้เคียงกันกับส่วนกลางให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในการให้ประชาชนมีสิทธิเสมอภาคทางการศึกษาและใช้ทรัพยากรทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 440 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,596.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,122,577 ไร่ แบ่งออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอศรีนคร

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดตากและจังหวัดลำปาง

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นสาขาวิทยบริการเฉลิม พระเกียรติที่ 9 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ขยายสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ออกมา ในปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับความร่วมมือจาก นายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยในขณะนั้น เป็นผู้จัดหาที่ดินให้เป็นที่ตั้งของสาขาวิทยบริการ จำนวน 803 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนสุโขทัย – ตาก ณ บริเวณทุ่งวังวน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 4 กิโลเมตร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2542 และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสาขาวิทยบริการเฉลิม พระเกียรติ จังหวัดสุโขทัยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 พร้อมทั้งทรงปลูกต้นสุพรรณิการ์ ซึ่งเป็นต้นไม้พระราชทานให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยไว้หน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย

ในการก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 2 หลัง ได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งจากจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมใจกันจัดหาทุน และมหาวิทยาลัยรามคำแหงช่วยออกค่าใช้จ่ายอีกครึ่งหนึ่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 25 ล้านบาท สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัยเปิดทำการเรียนการสอน เป็นครั้งแรกในระดับปริญญาตรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 เดือน กรกฎาคม 2542

โดยมหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์จากโรงเรียนอุดมดรุณีให้ใช้สถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อสอนนักศึกษาปริญญาตรีไปก่อนในช่วงที่รออาคารเสร็จสมบูรณ์ สำหรับการเรียนการสอน ในระดับปริญญาโท เปิดทำการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 เดือน ตุลาคม 2542 ที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย และสำหรับการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาเอก เปิดทำการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 เดือน กุมภาพันธ์ 2547 ที่สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย